แมว

แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ มาอย่างยาวนานกว่า หมื่นปี และทีสำรวจพบว่า สมองแมวนั้น มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ตั้งแต่เป็นสัตว์เลี้ยง

ตลอดช่วง 12,000 ปี ของแมวที่ผ่านมานั้น ค่อนข้างน่าเป็นห่วง จริงๆ แล้วแมวบ้านเป็นสัตว์ที่ฉลาด โดยผลการศึกษา ล่าสุดพบว่า ด้วยความเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม ที่มีมาอย่างยาวนาน ทำให้ สมองของแมวบ้าน ทำการหดเล็กลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่ มีหลักฐานล่งชีว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยง ของเหล่ามนุษย์นั้นเอง

จากการตีพิมพ์ งานวิจัย ในวารสาร Royal Society Open Science จากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ของสหราชอาณาจักร และทีมนักวิทยาศาสตร์ นานาชาติ มหาวิทยาลัยเวียนนา ของออสเตรีย ได้มีเนื้อหาระบุไว้ว่า แมวป่ายุคโบราณนั้น เริ่มมีการเปลี่ยนพฤติกรรม จากการที่เป็นสัตว์มีความสันโดด ออกล่าแบบอิสระ

แต่กลับกลายมาเป็น แมวบ้าน ที่ดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาอาศัยมนุษย์ จนทำให้ส่งผลกระทบ ต่อวิวัฒนาการของสมองแมว โดยตรงนั้นเอง

แมว
มีการเปรียบเทียบขนาดกะโหลกศีรษะ

ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ขนาดของสมอง ระหว่างแมวบ้าน (Felis catus) กับแมวป่าสายพันธุ์ยุโรป (Felis silvestris) รวมทั้งกับแมวป่าแอฟริกา (Felis lybica) ซึ่งได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นบรรพบุรุษของแมวบ้านในปัจจุบัน ทำให้ทราบว่าแมวบ้านมีขนาดของกะโหลกศีรษะและสมองเล็กกว่าแมวป่าทั้งสองสายพันธุ์

นอกจากนี้ยังมีการศึกษากะโหลกศีรษะของแมวลูกผสมระหว่างแมวบ้านและแมวป่าสายพันธุ์ยุโรป ทำให้พบว่าขนาดของสมองในแมวลูกผสมนั้นอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ยระหว่างขนาดกะโหลกศีรษะของแมวที่เป็นพ่อแม่พอดี ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าการที่มนุษย์นำแมวมาเลี้ยงไว้ในบ้าน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมองแมวหดตัวเล็กลงได้

การค้นพบล่าสุดนี้พิสูจน์ยืนยันข้อสันนิษฐานเรื่องแมวบ้านมีขนาดสมองเล็กลงกว่าเดิม ซึ่งมีมานานตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960-1970 ว่ามีความถูกต้อง โดยกรณีศึกษาของแมวบ้านนั้นคล้ายคลึงกับสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ อีกหลายชนิดเช่น แกะ สุนัข และกระต่าย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่าพวกมันมีสมองหดเล็กลงกว่าบรรพบุรุษ

เมื่อถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้เช่นกัน ทีมผู้วิจัยยังสนับสนุน ข้อสันนิษฐานจากแนวคิดดั้งเดิมข้างต้น ที่มองว่าการคัดเลือกพันธุ์สัตว์เลี้ยง โดยมนุษย์ ซึ่งใช้นิสัยของแมวที่เชื่อง และไม่ดุร้ายมาเป็นเกณฑ์ ทำให้แมวบ้านในปัจจุบันมีเซลล์ประสาทที่เรียกว่า neural crest cells ลดลงอย่างมาก โดยเซลล์ชนิดนี้จะเชื่อมโยงกับกลไกกระตุ้น ให้เกิดความกลัวและตื่นเต้น

รวมทั้งส่งผลต่อพฤติกรรม ตอบสนองกับความเครียด ขนาดของสมอง และสัณฐานวิทยา (morphology) ของร่างกายแมวบ้านโดยรวมด้วย อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาล่าสุดนี้ คัดค้านแนวคิดที่เชื่อกัน อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งมองว่าแมวบ้านยังมีความเป็นสัตว์ป่าติดตัวอยู่ และยังไม่ถูกเปลี่ยนให้เป็นสัตว์เลี้ยงโดยสมบูรณ์ (semi-domesticated)

“แม้จะดูเหมือนว่าบรรพบุรุษ ของแมวบ้านเลือกเข้ามาอยู่ร่วม กับมนุษย์ด้วยตัวของมันเอง ทำให้แมวไม่ค่อยเชื่อฟังคำสั่งและทำทุกอย่างตามอำเภอใจ แต่ผลการศึกษาของเรากลับชี้ว่า แมวได้ปรับเปลี่ยนตัวเองในหลายด้านเพื่ออยู่ร่วมกับมนุษย์ นอกจากพฤติกรรมการล่าที่เป็นประโยชน์แล้ว แมวยังมีความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมอง

ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์และอุปนิสัยที่เหมาะสมจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่าทางใจต่อคนเราด้วย” ทีมผู้วิจัยกล่าวสรุป

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : ennisassociatesinc.com